ปัจจุบัน การเดินทาง (โดยเฉพาะในกรุงเทพฯ และปริมณฑล) มีความรวดเร็วมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เนื่องจากมีรถตู้โดยสารเข้ามาให้บริการโดยเน้นความรวดเร็วและสะดวก เราได้เห็นวิธีการจ่ายค่าโดยสารที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการซื้อตั๋วโดยสาร หรือการทำบัตรคิวสีต่าง ๆ (หรือสิ่งอื่นที่ต้องคืนตอนขึ้นรถ) เพื่อเป็นประกันสิทธิการขึ้นก่อน-หลัง การจ่ายค่าโดยสารก่อนขึ้นรถ (ส่วนมากจะเป็นสายที่สามารถรอรับผู้โดยสารที่คิวได้ตลอด) หรือจะใช้วิธีการจ่ายค่าโดยสารเวลาจะลงจากรถ (ใช้สำหรับรถตู้ที่จอดรับรายทางทั่วไป) ซึ่งในสายตาของหลาย ๆ คนมองว่าทำให้การเดินทางดูล่าช้าเพราะต้องเสียเวลาในการจ่ายค่าโดยสาร ยิ่งถ้าป้ายที่ลงมีคนลงมาก ๆ คนที่ลงป้ายถัดไปก็จะมีเวลาน้อยลง
ดังนั้น จึงมีวิธีการจ่ายค่าโดยสารแบบใหม่ ซึ่งทำกันมาหลายปีแล้ว คือ การจ่ายค่าโดยสารโดยใช้ตะกร้า โดยเมื่อรถรับผู้โดยสารออกจากวิน คนขับจะส่งตะกร้า ซึ่งจะเป็นตะกร้าสานพลาสติกปากทรงกลม ให้กับผู้โดยสารแถวแรก พร้อมกับบอกจำนวนค่าโดยสารที่จะต้องเสีย แล้วให้ผู้โดยสารในแต่ละแถวจัดการจ่ายค่าโดยสาร ผู้โดยสารจะเตรียมค่าโดยสารให้พอดี หย่อนใส่ตะกร้า ใครที่มีจำนวนเงินที่จะต้องทอน ก็ทอนจากในตะกร้า ใครที่มีแบงก์ใหญ่ เช่น แบงก์ร้อย ก็ให้คนอื่นจ่ายก่อน พอในแถวนั้นเหลือตัวเองที่ยังไม่ได้จ่าย ถ้าในตะกร้าเหลือเงินทอนเพียงพอ ก็สามารถจ่ายแล้วหยิบเงินทอนมาได้ แต่ถ้าเงินทอนยังไม่เพียงพอ ก็ต้องส่งตะกร้าไปให้คนในแถวต่อไปจนครบ แล้วเมื่อตะกร้าย้อนกลับมาหาตัวเอง ก็สามารถจ่ายแล้วหยิบเงินทอนไปได้พอดี เมื่อตะกร้าย้อนกลับมาหาคนขับแล้ว บ้างคนขับก็จะนับเงินเอง หรือบ้างก็จะให้ผู้โดยสารแถวหน้านับเงิน เพื่อตรวจสอบให้จำนวนเงินตรงกับค่าโดยสารทั้งหมดที่พึงจะได้จากจำนวนผู้โดยสารในเที่ยวนั้น วิธีนี้คนที่อยู่ในต่างจังหวัดจะไม่ค่อยคุ้นเคย เพราะรถตู้ท้องถิ่นแทบไม่มีระบบนี้ แทบทั้งสิ้นจะเป็นระบบการซื้อตั๋วหรือคิวก่อนขึ้นรถหรือจ่ายค่าโดยสารตอนลงรถ
ตัวอย่าง รถตู้สายอนุสาวรีย์ชัย-ฟิวเจอร์รังสิต (โทลล์เวย์) ค่าโดยสาร 30 บาท ผู้โดยสารในเที่ยวนั้นมีทั้งหมด 15 คน (เต็มรถพอดี) ในตะกร้าจะต้องนับได้ 450 บาท
วิธีนี้ใช้สำหรับรถตู้สายที่ใช้ความเร่งด่วนในการเดินทางและถ้าจะจ่ายค่าโดยสารตอนลงรถจะล่าช้า บ้างใช้ร่วมกับระบบบัตรคิวเพื่อจัดการผู้โดยสารตอนขึ้นรถด้วย ตัวอย่าง รถตู้สายอนุสาวรีย์ชัย-ฟิวเจอร์รังสิต (โทลล์เวย์),อนุสาวรีย์ชัย-มีนบุรี,ฟิวเจอร์รังสิต-เดอะมอลล์งามวงศ์วาน,อนุสาวรีย์ชัย-ราชมงคลคลอง 6 เป็นต้น เพื่อให้การเดินทางสะดวกและรวดเร็วขึ้น
ในส่วนของรถตู้ท้องถิ่นต่างจังหวัด ก็ปรากฏว่ามีการใช้ระบบตะกร้าเช่นกัน แต่น้อยมาก ที่ปรากฏเห็นมีอยู่เพียง 2 สายเท่านั้น คือ รถตู้โพธิ์ทอง ซึ่งเป็นรถตู้ที่วิ่งระหว่างสงขลา-หาดใหญ่ โดยรถตู้โพธิ์ทองนั้นมี 2 สาย ได้แก่ สายเก่า (วิ่งบนถนนกาญจนวนิช) และสายใหม่ (วิ่งบนถนนลพบุรีราเมศวร์) ค่าโดยสารสำหรับสายเก่า 28 บาท และสายใหม่ 30 บาท ในย่านนั้น รถตู้โพธิ์ทองใช้ระบบตะกร้าในขณะที่รถตู้คิวอื่นในหาดใหญ่เป็นการซื้อตั๋วโดยสารแทบทั้งสิ้น
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการใช้ระบบตะกร้า คือ การจ่ายค่าโดยสารไม่ครบ จนต้องมีการทวงถาม มีหลายกรณีที่เกิดเรื่องราวขึ้นระหว่างคนขับและผู้โดยสาร เนื่องจากการจ่ายค่าโดยสารโดยใช้ตะกร้านั้น ผู้โดยสารจ่ายกันเอง คนขับไม่ได้มีส่วนรู้เห็นด้วยในขณะจ่าย อาจมีความผิดพลาดเกิดขึ้นหรือผู้โดยสารบางคนก็จงใจที่จะไม่จ่าย แต่กรณีจงใจนี้เกิดขึ้นยาก เนื่องจากมีสายตาของผู้โดยสารคนอื่นคอยสอดส่องอยู่แล้วว่าจ่ายหรือไม่.
อนุเสาวรีย์-ปากเกร็ด หมดเที่ยงคืนหรอคะ ค่าโดยสารเท่าไหร่
ตอบลบอยากทราบคารถทั่วชัยนาทไปกทมขึ้นรถตรงสะพานใหม่ชัยนาทไปลงหน้าไฮเทคอยุธยาราคาเท่าไรครับ
ตอบลบ